วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555


ประวัติความเป็นมาของกีตาร์
prehistoric.gif (2568 bytes)         
           กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
     ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก     หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
     อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย

              
           
              สำหรับการร้องไปพร้อมกับกีตาร์ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อสามารถปรับให้ระดับเสียงของกีตาร์นั้นเข้ากับเสียงร้องได้ ซึ่งผมเข้าใจว่าในอดีตกีตาร์มีไว้บรรเลงมากกว่าแต่เมื่อสามารถผสมผสานเสียงของกีตาร์กับเสียงร้องได้การร้องคลอไปกับกีตาร์จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น นักร้องนักกีตาร์(คือทั้งเล่นทั้งร้อง) น่าจะมาจากนักร้องในยุคกลางซึ่งเป็นชนชั้นสูงได้ปลีกตัวไปทำงานในแบบที่เป็นอิสระและอยากจะทำจึงมีการผสมกันกับรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านมากขึ้น ซึ่งงานดนตรีจึงแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
        1. เป็นงานประพันธ์เพื่อจรรโลกโลกหรือมีความจริงจังในทางดนตรีเพื่อการแสดงเป็นส่วนใหญ่ ก็คือเพลงคลาสสิกนั่นเอง
        2. งานที่สร้างจากคนพื้นบ้านจากการถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูกลูกสู่หลาน เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพความเป็นอยู่ แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิต ใช้ในการผ่อนคลายจากการงานความทุกข์ความยากจน เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อันได้มาจากประสบการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวขณะนั้นจึงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก
    และโดยที่ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลาจากอดีตถึงปัจจุบันจนมีการซึมซับเข้าไปยังเนื้อเพลงและทำนองเพลงทำให้เกิดรูปแบบของดนตรีในแบบใหม่ ๆมากขึ้นเรื่อย ๆ
   ในอเมริกา ผู้ที่เข้าไปอาศัยได้นำเอาดนตรีและการเต้นรำของพวกเขาเข้ามาด้วยเช่นพวกทหาร นักสำรวจ พวกเคาบอยหรือคนงานเหมืองทำให้มีการผสมผสานกันในรูปแบบของดนตรีและที่สำคัญที่สุดคือพวก อเมริกัน นิโกร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะทาสซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเพลงบลูส์นั่นเองซึ่งส่วนใหญ่แสดงถึงความยากลำบาก ความยากจนถ่ายทอดมาในบทเพลงสไตล์ของพวกเขาเพื่อได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยยากและเล่นง่าย ๆ ด้วยกีตาร์กับเม้าท์ออร์แกนเป็นต้น ซึ่งเพลงบลูส์นั่นเองที่เป็นพื้นฐานของดนตรีอีกหลาย ๆ ประเภทไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อคหรือแจ๊สในปัจจุบัน จนเดี๋ยวนี้กีตาร์มีความสำคัญกับดนตรีแทบทุกชนิด
   แม้ว่ากีตาร์จะถูกสร้างมาหลายรูปแบบแต่แบบที่ถือว่าดีที่สุดคงเป็นแบบ สแปนนิช 6 สาย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ดีอย่างมากทั้งด้านการประดิษฐ์และด้านเทคนิค ซึ่งสามารถใช้เล่นในงานแสดงคอนเสิร์ท(หมายถึงดนตรีคลาสสิก) หรือเล่นเพลงทั่ว ๆ ไปทำให้รูปทรงกีตาร์แบบนี้เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน เริ่มจากในศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนจากสายที่เป็นสายคู่มาเป็นสายเดี่ยวและเปลี่ยนจาก 5 สายเป็น 6 สาย ช่างทำกีตาร์ในยุคศตวรรษที่ 19 ได้ขยายขนาดของ body เพิ่มส่วนโค้งของสะโพกลดส่วนผิวหน้าที่นูนออกมา และเปลี่ยนแปลงโครงยึดภายใน ลูกบิดไม้แบบเก่าถูกเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ ในยุคเดียวกันนี้ Fernando Sor ซึ่งได้กล่าวมาในข้างต้นแล้วเป็นผูที่พัฒนาและทำให้เครื่องดนตรีนี้เป็นที่ยอมรับและใช้ในการแสดงได้จนกระทั่งมาถึงยุคของ Andres Segovia ได้คิดดัดแปลงให้สามารถใช้กับไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นความพัฒนาอีกระดับของเพลงป๊อปในอเมริกาในช่วง 1930 กีตาร์ไฟฟ้าต้นแบบช่วงนั้นเป็นแบบทรงตันและหลักการนำเสียงจากกีตาร์ไปผสมกับกระแสไฟฟ้าแล้วขยายเสียงออกมานั้นทำให้นักดนตรีและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันซึ่งชื่อเขาพวกเรารู้จักกันดีในนามของโมเดลหนึ่งของกิ๊บสันนั่นก็คือ Les Paul ได้พัฒนาจากต้นแบบดังกล่าว มาเป็นแบบ solid body กีตาร์ หรือกีตาร์ไฟฟ้าที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นแหละครับซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของดนตรียุคนั้นและทำให้กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 1940
        
  หลังจากนั้นในต้นปี 1940 นักประดิษฐ์ชาวแคลิฟอเนียอีกคนซึ่งเราก็รู้จักชื่อเขาในนามของยี่ห้อกีตาร์ที่สุดยอดอีกยี่ห้อหนึ่งนั่นก็คือ Leo Fender เขาได้ประดิษฐ์กีตาร์และเครื่องขยายเสียงในร้านซ่อมวิทยุของเขา เขาได้สร้างเครื่องขยายเสียงแต่ขณะนั้นไม่มีปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ เช่นปัจจุบัน และใช้กับกีตาร์ของเขาซึ่งมีปุ่มควบคุมเสียงดังเบาและทุ้มแหลมซึ่งเป็นต้นแบบกีตาร์ไฟฟ้ายุคใหม่ เขาไม่ได้หยุดแค่นั้นด้วยเทคโนโลยีขณะนั้นเขารู้ว่าเขาน่าจะดัดแปลงกีตาร์โปร่งให้สามารถใช้กับเครื่องขยายเสียงได้และความพยายามเขาก็สำเร็จจนได้ในปี 1948 และได้กีตาร์ที่ชื่อว่า Telecaster ซึ่งชื่อเดิมที่เขาใช้เรียกคือ Broadcaster แต่คำว่า tele เป็นที่ติดปากกันมากกว่าและถือว่าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าทรงตันในรูปทรงสแปนนิสรุ่นแรกที่ซื้อขายกันในเชิงพานิชย์และได้รับความนิยมอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบัน
         ปัจจุบันสำหรับกีตาร์มีพร้อมแล้วทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นรูปร่างรูปทรงประเภทต่าง ๆ ให้เลือกเล่นตามใจชอบ สไตล์เพลงหลากหลายสไตล์ โรงเรียนสอน ตำราต่าง ๆ ให้ศึกษามากมายแต่แนนอนการพัฒนาย่อมไม่มีวันหยุดไม่แน่ในอนาคตคุณอาจเป็นคนหนึ่งที่สร้างอะไรใหม่ ๆ ให้กีตาร์จนโลกต้องบันทึกไว้ก็ได้
      
                                         ประเภทของกีตาร์

    
 ตามที่เรานั้นเคย รู้กันอยู่แล้วว่ากีตาร์นั่นก็มีอยู่สองแบบคือ กีตาร์โปร่ง กับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ว่าเราลองมารู้จักกีตาร์ในแต่ละประเภทกันให้มากกว่านี้ดีกว่า
     1. กีตาร์โปร่ง  หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย สามารถแบ่งได้ดังนี้
          1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
          กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco) ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการพัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน
ด้วยเหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิคนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายนักกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังกับโรงเรียนดนตรีflamencoBfront.jpg (47292 bytes)flamencoBback.jpg (43036 bytes)flamencoBside.jpg (38276 bytes)











         ส่วนต่าง ๆ ของกีตาร์คลาสสิก


1.2 กีตาร์โฟล์ค  ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มี) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
          กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์ หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์, jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์ นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด) ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น
 folk.jpg (208664 bytes)
     2. Arch top กีตาร์  เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส
     3. Semi Acoustic กีตาร์ เป็นกีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่กีตาร์ดปร่งไฟฟ้า กีตาร์โปร่งไฟฟ้าก็คือกีตาร์โปร่งที่ได้มีการประกอบเอา pick up ประกอบเข้าไปกับตัวกีตาร์โปร่งทำให้สามารถต่อสายจากกีตาร์เข้าเครื่องขยายได้โดยตรง ไม่ต้องเอาไมค์มาจ่อที่กีตาร์หรือไม่ต้องไปซื้อ pick up มาต่อต่างหาก แต่ Semi Acoustic กีตาร์จะมีลำตัวโปร่ง และแบนราบ แต่จะมี pick up ติดอยู่บนลำตัว และมักจะมีช่องเสียงเป็นรูปตัว f เช่นเดียวกับแบบ arch top ซึ่งทำให้กีตาร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติของกีตาร์โปร่งคือเล่นแบบไม่ต่อเครื่องขยายก็ได้หรือจะต่อเครื่องขยายก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่กีตาร์ประเภทนี้มักจะพบว่าใช้ในดนตรีบลูส์ หรือดนตรีแจ๊สเป็นส่วนมาก
4.Solid Body Electric กีตาร์  ซึ่งก็คือกีตาร์ไฟฟ้าที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันดีอยู่แล้วซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบแต่ลักษณะเด่นก็คือลำตัวจะเป็นแบบตัน และประกอบด้วย pick up ซึ่งเป็นหัวใจของกีตาร์ไฟฟ้าอีก 2 หรือ 3 ชุด ไว้บนลำตัวกีตาร์สำหรับแปลงสัณญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่องขยายอีกที กีตาร์ประเภทนี้ต้องมีเครื่องขยาย มิฉะนั้นเวลาเล่นต้องเอาหูไปแนบใกล้ ๆ ตัวกีตาร์ถึงจะได้ยินเสียง แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะปรับแต่งเสียงของมันได้อย่างอิสระด้วยการ control ปุ่ม volume หรือ tone และยังใช้ร่วมกับ effect ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตมามากมายหลายแบบเหลือเกิน เช่น distortion ,overdrive, flanger เป็นต้น ทำให้สามารถปรับแต่งสำเนียงกีตาร์ตามที่เราต้องการได้
     นอกจากนี้ pick up ที่ใช้ยังมีทั้งแบบ single coil และแบบ double coil (humbacking) ซึ่งต่างลักษณะของการพันขดลวดรอบแกนแม่เหล็กและทำให้เสียงที่ได้ออกมานั้นต่างกันอีกด้วย การติดตั้ง pick up ไว้ในตำแหน่งที่ต่างกันก็จะให้เสียงที่ต่างกันด้วยเช่นกัน เช่น การติด pick up ติดกับปลายสุดของฟิงเกอร์บอร์ดจะให้เสียงที่ทุ้ม หรือ pick up ที่ติดกับสะพานสาย (bridge) จะให้เสียงที่แหลมกว่าใช้ในการ solo เป็นต้น และอุปกรณ์พิเศษอีกอย่างที่สามารถทำให้เสียงกีตาร์แปลกออกไปก็คือคันโยก (tremolo bar) ได้แก่ชุดก้านยาว ๆ ที่ติดอยู่กับสะพานสายนั่นเองใช้กดขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนความตึงของสายกีตาร์ทำให้ระดับเสียงที่ออกมานั้นแตกต่างไปจากปกติ สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากในวงการดนตรี pop rock เพราะมีเสียงหนักแน่นเล่นได้ทั้งแบบ rhythm หรือการ solo (หรือเล่น lead กีตาร์) โชว์สำเนียงของกีตาร์และสไตล์ของแต่ละคนซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นมาก
5. Resonator กีตาร์ หรือ Resophonic กีตาร์ เป็นกีตาร์อีกประเภทที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก บางทีก็เรียกว่า dobro มีลักษณะเด่นคืออาศัย resonatorซึ่งจะทำให้เกิดเสียง resonance หรือขยายเสียงให้ดังโดยทำให้เกิด resonance มีทั้งแบบ tri-plate resonator คือมีเจ้า resonator 3 แผ่น และแบบ single-resonator คือมี resonator แผ่นเดียวนั่นเอง โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะ สำหรับกีตาร์ประเภทนี้มักจะเล่นกับเพลงบลูส์ที่ใช้สไลด์เช่นพวกเดลต้าบลูส์ หรือประเภทบลูกลาส ( bluegrass ) โดยใช้ไสลด์กีตาร์ หรือเล่นกับเพลงแบบฮาวายdobro copy.jpg (87975 bytes)






6. กีตาร์ steel หรือ pedal steel guitar  หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับเจ้ากีตาร์แบบนี้เท่าไรนัก ส่วนใหญ่กีตาร์แบบนี้จะเล่นในเพลงประเภทเพลง country และแบบ ฮาวาย เป็นส่วนมากเวลาเล่นจะเล่นด้วยสไลด์








7. กีตาร์แบบอื่น ๆ นอกจากกีตาร์ประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้านบนแล้ว ยังมีกีตาร์แบบพิเศษอื่น ๆ ซึ่งอาจจะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะประเภท หรือเล่นเป็นพิเศษกับเพลงนี้โดยเฉพาะ เราจะไม่ค่อยเห็นมากนักเช่นกีตาร์ที่มีจำนวนสายแปลก ๆ มีรูปร่างแปลก ๆ เช่นกีตาร์ 7 สาย กีตาร์ Harmony Sovereigh แบบ 9 สาย กีตาร์ที่ใช้สายของกีตาร์เบสประกอบด้วย กีตาร์ 2 


ส่วนประกอบของกีตาร์

                                
                 คราวนี้เราจะมาศึกษาในด้านของส่วนประกอบต่าง ๆ ของ กีตาร์ชื่อที่ใช้เรียก และเกร็ดความรู้ เกี่ยวกับชิ้นส่วนต่าง ๆ กันครับ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่ง
ได้ 3 ส่วนใหญ่ ๆ


detail.jpg (129427 bytes)


หมายเหตุ คุณสามารถเลื่อนเม้าส์ไปที่จุดต่าง ๆ ของรูปแล้วคลิ๊กเพื่อไปยังรายละเอียดได
     1. ส่วนหัว ประกอบด้วย
         1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นก็จะมี 2 แบบ ได้แก่แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีตาร์แกนหมุนสายเป็นพลาสติกซึ่งจะใช้กับกีตาร์คลาสสิก หรือกีตาร์ฝึก(แต่จะเป็นแบบที่แกนหมุนสายเป็นเหล็กใช้กับกีตาร์ราคาไม่สูงนัก) และอีกแบบจะขนานกับตัวกีตาร์หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวกีตาร์ซึ่งใช้กับกีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นนั่นเอง แต่ละบริษัทที่ผลิตลูกบิดกีตาร์นั้นจะมีระบบเป็นของตัวเองเช่นระบบล็อคกันสายคลายเวลาดีด อะไรเหล่านี้เป็นต้นH'birdCustomhs.jpg (15034 bytes)Foto042.JPG (26709 bytes)
         1.2 นัท (nut)บางคนอาจเรียกว่าหย่องหรือสะพานสายบน แต่เราจะเรียกว่านัทจะดีกว่า มันจะติดอยู่ปลายบนสุดของฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อรองรับสายกีตาร์ให้ยกสูงจากฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งระยะความสูงของสายกับฟิงเกอร์บอร์ดดังกล่าวนี้เรียกว่า action มีความสำคัญมากเพราะถ้ามันตั้งความสูงไว้ไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้การเล่นกีตาร์ลำบากมากคือถ้าระยะดังกล่าวสูงไปคุณต้องออกแรงกดสายมากขึ้นก็จะเจ็บนิ้วมากขึ้น แต่ถ้ามันตั้งไว้ต่ำไปก็จะทำให้เวลาดีดความสั่นของสายจะไปโดนเฟร็ตทำให้เกิดเสียงแปลก ๆ ออกมา การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยการถอดมันออกมาและใช้ตะไบถูกับฐานของมันหรือเซาะร่องทั้ง 6 ให้ลึกลงไป(วิธีหลังเราไม่แนะนำเท่าไรเพราะถ้าคุณเซาะร่องไม่ดีจะมีผลกับเสียงกีตาร์ของคุณ)กรณีที่สูงเกินไป ตรงกันข้ามถ้าต่ำไปก็หาเศษกระดาษหนา ๆ หรือเศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ โดยปกติประมาณ 2 มม. สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่น(โดยเฉพาะที่มีชุดคันโยก)มักจะมีนัทแบบที่ล็อคสายกีตาร์ได้คือจะมี 6 เหลี่ยมขันอัดให้โลหะชิ้นเล็ก ๆ ไปกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายเมื่อเล่นคันโยก
     กรณีที่คุณต้องเปลี่ยนนัทเช่นมีการแตกหัก คุณจะต้องเช็คขนาดของนัทของคุณให้ดีก่อนไปซื้อเพราะนัทมีขายหลายขนาด แต่ถ้าเป็นกีตาร์ระดับราคาไม่สูงนักคิดว่าคงไม่มีปัญหา
     2. ส่วนคอกีตาร์ ประกอบด้วย
          2.1 คอกีตาร์ คือส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่าง ๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อคุณจะต้องดูให้ดีดังที่แนะนำในหัวข้อการเลือกซื้อกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลัการที่สำคํญที่สุดคือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้
         2.2 fingerbord เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป มีแแบที่แบนเรียบของกีตาร์คลาสสิก และกีตาร์โฟล์กับกีตาร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลาทาบบนคอ
          2.3 เฟร็ต (fret) ทำมาจากโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน็ตดนตรีจากการกดสายกีตาร์ลงบนเฟร็ตต่าง ๆ ซึ่งทำให้สายมีความสั้นยาวต่างกันไปตามการกดสายของเราว่ากดที่ช่องใดระยะสายที่เปลี่ยนไปก็คือระดับเสียงที่เปลี่ยนไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือระยะระหว่างเฟร็ตแต่ละตัวต้องได้มาตรฐาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยนได้แต่เราไม่สามารถเช็คระยะดังกล่าวได้เราอาจเช็คคร่าว ๆ จากฮาโมนิค จำนวนของเฟร็ตก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะต่างกันไป ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมีการเล่นโซโลจึงมีช่องให้เล่นโน๊ตมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟร็ตก็จะตรง แต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะมีคอที่โค้งเล็กน้อยก็จะมีเฟร็ตที่โค้งตามไปด้วย
          2.4 มุกประดับ จุดประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง (1),3,5,7,9,(10),12,14,17,19,21(ไม่แน่นอนตายตัวขึ้นกับผู้ผลิต) กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน(บางรุ่นก็มีแต่ด้านข้าง) ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บางทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อไปตามหน้าฟิงเกอร์บอร์ด
          2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ในกีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วยเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าไม่แน่ใจอย่าเสี่ยง เพราะถ้าคุณฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำดีกว่า
  3. ส่วนลำตัวกีตาร์ ประกอบด้วย
          3.1 ลำตัวกีตาร์ (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่า เอว
brunebrace.gif (48736 bytes)main2.jpg (33839 bytes)
          การยึดโครงไม้ด้านใน(internal bracing) มีความสำคัญมากอีกเช่นกันเพราะไม้ที่ทำ body กีตาร์นั้นบางแต่ต้องรับแรงดึงที่สูงมาก ถ้าโครงยึดดังกล่าวไม่ดีหมายถึงกีตาร์คุณก็จะพังในเร็ววันแน่นอน รูปแบบการยึดจะแตกต่างกันตามเคล็ดลับของแต่ละผู้ผลิตและกีตาร์แต่ละรุ่นแต่ละประเภท โดยทั่วไปลักษณะเป็นรูปพัด (ในรูปเป็นตัวอย่างโครงยึดด้านในของกีตาร์คลาสสิก)ไม่รวมถึงกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นทรงตัน หรือ solid body
        3.2 โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีีีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงามอีกH'birdCustompg.jpg (23671 bytes)
          3.3 สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วย
หมุดยึดสาย(pin) แต่บางรุ่นเช่นของ Ovation ไม่ใช้หมุดแต่สอดสายจากด้านล่างของบริดจ์คล้าย ๆ กับกีตาร์คลาสสิกแต่ไม่ต้องพันสายเพราะสายโลหะจะมีหมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึดสายอย่างเดียว และอีกแบบคือเป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันติดปากว่าฟรอยโรส การใส่สายจะยุ่งขึ้นมาอีกเล็กน้อย
          3.4 หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตารืคลาสสิก และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูงตามความพอใจ
          3.5 ปิคอัฟ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มีการประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลยเช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่อง หรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่างหากก็มี สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้ัสามารถปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการรายละเอียดดูในอุปกรณ์เสริมสำหรับกีตาร์ได้
          3.6 ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียวแบบเก่าที่เห็นใน fender stratocaster รุ่นเก่า ๆ   ซึ่งจะกดลงได้อย่างเดียว หรือคันโยกแบบ Bigsby ซึ่งมักพบในกีตาร์แบบ archtop หรือ semi acoustic electric ซึ่งใช้เล่นเพลงแจ๊ส หรือคันทรีเป็นต้นและปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีกระดับกับคันโยกที่เราเรียกกันตามชื่อผู้ผลิตคือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระนั่นเองซึ่งสามารถโยกขึ้นลงได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตารืสามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด

คันโยก Bigsby แบบต่าง ๆ
bigsby_vibrato.gif (27677 bytes)bigsby.gif (10521 bytes)bigsby2.gif (10793 bytes)
bigsby3.gif (9828 bytes)bigsby4.gif (8555 bytes)
bigsby7.gif (8708 bytes)bigsby5.gif (9737 bytes)bigsby6.gif (10633 bytes)
คันโยกแบบ Floyd Rose
frt.jpg (22155 bytes)
MUAE9LBO.JPG (33442 bytes)
        3.7 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่างที่ติดกับบริดจ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่าเป็นต้น
          3.8 ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบา(volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม(tone control)
       3.9 ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์ ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ ของคุณ
          3.10 ที่ใส่สายสะพายกีตาร์ ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เพื่อเวลาคุณยืนเล่น
          3.11 ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตารคลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์

  อ้างอิง http://student.nu.ac.th/guitar/index.htm